กินอาหารเจช่วยโลกร้อน(สิ่งแวดล้อม)
รู้หรือไม่ ลดสเต็กเนื้อหนึ่งชิ้น สามารถประหยัดน้ำไปได้ถึง 800 แกลลอน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราเห็นความพยายามในการที่จะลดปัญหาภาวะโลกร้อน (global warming) และ สภาพอากาศผันผวน (climate change) จากหลายภาคส่วน หลากโครงการ แต่ทุกคน รู้หรือไม่ ว่าหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำได้ทันที คือ การกินเจ หรือ การงดบริโภคเนื้อสัตว์ และ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของนม
นอกจากประโยชน์ในเชิงสุขภาพ การกินเจยังมีประโยชน์กับโลกในหลายประการ
ประการแรก: ประหยัดน้ำ
ค่าเฉลี่ยโลกของปริมาณน้ำที่ถูกใช้ (water footprint) ในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อ คือ 15,400 ลิตรสำหรับการผลิตเนื้อวัวหนึ่งกิโล 6,000 ลิตรสำหรับการผลิตเนื้อหมูหนึ่งกิโล และ 4,330 ลิตรสำหรับการผลิตเนื้อไก่หนึ่งกิโล
ส่วนใหญ่ของปริมาณน้ำถูกใช้ไปกับอาหารสัตว์ โดยเฉพาะข้าวสาลี (wheat) การปลูกข้าวสาลีหนึ่งกิโลกรัม ใช้น้ำถึง 1,000-2,000 ลิตร
ประการที่สอง: ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน
หากคนคู่หนึ่งเปลี่ยนมาบริโภคเจเป็นเวลาหนึ่งปี จะช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ถึง 2,440kg CO2 หรือ เทียบเท่ากับการปล่อยคาร์บอนของรถยนต์ขนาดเล็กของครอบครัวหนึ่งในเวลา 6 เดือน
ประการที่สาม: ลดปริมาณการปล่อยมีเทน
วัวและแกะ ปล่อยแก๊สมีเทนถึง 37% ของปริมาณแก๊สมีเทนที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ แก๊สเหล่านี้เกิดจากกระบวนการย่อยอาหารและการขับถ่ายของสัตว์ในปศุสัตว์ ซึ่งมีเทนนั้นเป็นแก๊สที่มีอันตรายกับบรรยากาศของโลกมากกว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซส์ถึง 25 เท่า
นอกจากนั้นในงานวิจัยของ Vasile Stanescu, Mercer University ระบุว่า สัตว์ที่ถูกเลี้ยงด้วยวิธีการสมัยใหม่ที่เรียกกันว่า organic หรือ free-range อาจผลิตมีเทนมากกว่าสัตว์ที่เลี้ยงด้วยวิธีการปกติอีกด้วย
ประการที่สี่: ลดปริมาณการปล่อยแอมโมเนียและไนเตรต
อุตสาหกรรมสัตว์ปีกปล่อยแก๊สแอมโมเนียปริมาณมาก ซึ่งก่อให้เกิดฝนกรด อีกทั้งยังปล่อยไนเตรตมากถึง 64% เมื่อเทียบกับปริมาณไนเตรตที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ไนเตรตส่วนมาก มาจากของเสียที่เหล่าสัตว์ปีกขับถ่ายออกมา
ไนเตรตเป็นหนึ่งในสารที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยมีอันตรายกับโลก (Global Warming Potential – GWP) มากถึง 300 เท่าเมื่อเทียบกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซส์
เมื่อคำนึงถึงความอันตรายของไนเตรตต่อโลก หากเราสามารถลดการปล่อยสารชนิดนี้ได้ คงจะดีไม่น้อยอย่างแน่นอน
ประการสุดท้าย: ลดมลพิษทางน้ำ
มลพิษทางน้ำที่เกิดจากปศุสัตว์มีสาเหตุหลักมาจาก มูลสัตว์ ของเสียที่สัตว์ขับถ่าย, antibiotic, ยาฆ่าแมลงที่ปศุสัตว์นั้น ๆ ใช้
มูลสัตว์ หรือ น้ำเสียที่มีมูลสัตว์ ทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำ และ ลำธาร สัตว์ในฟาร์มทั่วโลกผลิตอุจจาระได้มากถึง 130 เท่าของประชากรทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา หากปศุสัตว์นั้น ๆ ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูล และ บำบัดน้ำเสียที่ดี ของเสียเหล่านี้จะกลายเป็นมลพิษต่อน้ำ ดินชั้นบน และ กลายเป็นสิ่งปนเปื้อนในอากาศ
antibiotic และ ยาฆ่าแมลงต่าง ๆ รวมทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ยาปฏิชีวนะ เมื่อปนเปื้อนลงไปในน้ำสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งน้ำ รวมถึงชีวิตมนุษย์ที่เกี่ยวพันกับแหล่งน้ำนั้น ๆ สารเหล่านี้สร้างปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ หรือ ปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง ซึ่งเป็นการสะพรั่งของตะไคร่ทะเล ตะไคร่เหล่านี้จะ ปิดกั้นทางน้ำ ขโมยออกซิเจนเพื่อใช้ในการสลายตัว และฆ่าประชากรปลาตาม
กินเจ อาจเป็นหนึ่งในทางออกให้กับโลกธรรมชาติ
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการกินเจมีประโยชน์มากมายกับโลก และ เป็นหนึ่งในวิถีที่เราสามารถทำได้เลย โดยที่ไม่ต้องลงทุนมากมาย เราอาจจะไม่ต้องกินเจทุกมื้อก็ได้ในตอนเริ่มต้น หากแต่เราใส่ใจในปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ และ ผลิตภัณฑ์นมมากขึ้น ลด หรือ หาผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืชมาทดแทนในสัดส่วนที่เหมาะกับตนเอง เราก็สามารถที่จะช่วยโลกอย่างค่อยเป็น ค่อยไปได้
ผลิตภัณฑ์พืชที่เราจะนำมาบริโภคทดแทนก็มีความสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น นมทางเลือกแทนการบริโภคนมวัว มีทั้งนมถั่วเหลือง นมข้าว นมโอ็ต นมมะพร้าว หรือ นมแอลมอน หากวัดกันจากมุมมองทางสิ่งแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่า นมถั่วเหลืองเป็นนมทางเลือกที่ดีที่สุด นักวิจัยที่เปรียบเทียบหน่วยพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่จำเป็นในการผลิตนมและถั่วเหลือง พบว่าต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล 14 กิโลแคลอรี ในการผลิตนม 1 กิโลแคลอรี ในขณะที่เชื้อเพลิงฟอสซิลเพียง 1 กิโลแคลอรีสามารถผลิตถั่วเหลืองได้ 3.2 กิโลแคลอรี การวัดนั้นครอบคลุมถึงปริมาณปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และปัจจัยการผลิตทางอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้ในการเกษตรแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการประเมินผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อมนั้น เราไม่สามารถวัดได้จากปริมาณเชื้อเพลิงอย่างเดียว อาจจะต้องมีการประเมินถึงแหล่งที่มาอื่น ๆ เช่น ปริมาณน้ำ หรือ ขั้นตอนในการแปรรูปอื่น ๆ เช่นกัน
การมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกมากขึ้นในปัจจุบัน เป็นสัญญาณที่ดี เพราะ ตัวเลือกที่มีมากขึ้น ย่อมเป็นผลดีกับความพึงพอใจ และ ความต้องการที่หลากหลาย และ แตกต่างกันของแต่ละปัญเจก และ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะได้เห็นตัวเลือกที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
https://www.peta.org/issues/animals-used-for-food/fight-the-climate-crisis/
https://www.nrdc.org/stories/shrink-your-carbon-footprint-ease-dairy
https://waterfootprint.org/en/resources/interactive-tools/product-gallery/
https://vegsoc.org/info-hub/why-go-veggie/environment/
http://earthsave.org/globalwarming.htm
https://www.downtoearth.org/go-veggie/environment/top-10-reasons
https://www.carbonfootprint.com/calculator.aspx
ติดตามสาระห่วงไยสิ่งแวดล้อม 〜
🌐 : greentips.net
Facebook: Bio100Percent
IG: instagram.com/bio100plus
Line: @BIO100
Blockdit : GREENTIPS
🅱logger : GREENTIPS by BIO100