มนุษย์(คง)ต้องหาโลกใบใหม่
เป็นที่รู้กันว่ากันการเพิ่มไม่หยุดของประชากรโลก (Exponential Human Population Growth) ที่เกินกำลังจะรับไหวของระบบนิเวศน์โลก จะนำมาซึ่งความล่มสลายของสภาพแวดล้อม จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทุกปีในอัตราก้าวกระโดด เราใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากโลกใบนี้อย่างฟุ้มเฟือย (ทั้งบนดินน้ำท้องฟ้าหรือใต้บาดาล) มีจากรายงานล่าสุด จำนวนทรัพยากรโลกที่เราใช้ลงไปภายใน 50 ปีล่าสุดที่ผ่านมา คำนวณแล้วมีปริมาณมากกว่าการใช้สะสมที่มนุษยชาติทั้งหมดใช้กันตั้งแต่เริ่มกำเนิดเผ่าพันธ์มนุษย์
อ้างอิงจาก Australian Academy of Science “มนุษย์เราต้องการโลกมากถึง 1.5 ใบ (หนึ่งโลกกับอีกครึ่งใบ) เราจึงจะสามารถดำรงชีวิตในแบบที่เราประพฤติปฎิบัติตัวอยู่ในปัจจุบันได้” หรือแปลความหมายอีกนัยหนึ่งว่า ปริมาณของทรัพยากรที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้ หรือก็คือนำออกจากระบบนิเวศน์โลก ภายในเวลาหนึ่ง (1) ปี ระบบนิเวศน์ของโลกเราต้องการเวลามากถึงหนึ่งปีครึ่ง หรือ 18 เดือนทีเดียวเพื่อที่จะฟื้นฟูสภาพ เติมคืนกลับมาดังเดิม
ทางออกอยู่ที่ไหน
มีการเสนอทางออกจากสถานการณ์น่าวิตกนี้ตั้งแต่เมื่อ 25 ปีที่แล้ว โดย Joe E. Cohen นักชีววิทยาคณิตศาสตร์ ในหนังสือชื่อ How Many People Can the Earth Support? ไว้อย่างน่าสนใจ ถึงแม้ว่าข้อเสนอจะเก่าและก็น่าจะมีหลายสิ่งอย่างเปลี่ยนไป เขานำเสนอ 3 แกนความคิดหลักในการจัดการสมดุลระหว่างทรัพยากรธรรมชาติกับจำนวนประชากร
เพิ่มขนาดของเค้ก ( A Bigger Pie )
- ฟังดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ เราคงเคยได้ยินกันเรื่องแบ่งเค้กออกเป็นส่วนๆ ซึงจะอย่างไรก็ต้องไม่เกินขนาดก้อนเค้กที่มีอยู่ในตอนแรก แต่เขามีข้อเสนอ คือให้เราสร้างนวัตกรรม ใช้เทคโนโลยีเพิ่มความสามารถของระบบนิเวศน์ ให้รับมือกับความต้องการจำนวนคนและการใช้ทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น
- และเ้วยด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เรามีความเป็นไปได้หลากหลาย ไม่ว่าจะด้วยการปฎิวัติอุตสาหกรรมการผลิต การทำสวนเกษตรอัจฉริยะ พัฒนาเทคโนโลยีอาหาร ลงทุนในระบบบำบัดน้ำเสีย หรืองานวิจัยใหม่ๆด้านพันธุวิทยกรรม ล้วนแล้วแต่สามารถช่วยเพิ่มขนาดเค้กให้เราได้มีมาแบ่งกันกินใช้ในหมู่เราชาวโลก แต่ขณะเดียวกัน พวกเราก็ต้องฉลาดเลือกพัฒนาทางเลือกที่มุ่งไปสู่การใช้พลังงานสะอาด อาทิพลังลม พลังงานแสงอาทิตย์ จะได้ไม่เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลน แต่ไปเพิ่มปัญหาเรื่องโลกร้อนมาแทน
ลดจำนวนของปากที่ต้องเลี้ยงดู ( Fewer Forks – ลดจำนวนส้อม )
- การบริหารจัดการเรื่องพลเมือง โดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านทางประชากรศาสตร์ ซึ่งหลักๆที่กล่าวถึงในหนังสือจะเป็นการชละตัวและก็การลดการเกิดของประชากรโลก เพื่อจะได้มีตัวหารน้อยลง ในการมาแย่งชิงก้อนเค้กกัน ซึ่งแน่นอน แต่เอาเข้าจริง ในสภาวะปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นของพลเมืองโลกอาจไม่เป็นตัวแปรตัวเดียวแล้ว ถ้าเราดูภาพรวม อัตราเพิ่มของประชากรอยู่ในแนวโน้มลดลง เพราะอัตราเกิดได้เริ่มลดต่ำลง แต่เราก็อัตราตายได้ลดลงเช่นกัน คนมีอายุยืนยาวขึ้น เพราะความก้างหน้าทางการแพทย์ และยังมีประเด็นเรื่องฐานะทางเศรฐกิจของแต่ละประเทศ ที่ส่งผลถึงการบริโภคในอัตราที่แตกต่างกัน
ใช้ชีวิตอย่างรับผิดชอบ ( Better Manners: Less is More)
- น่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงในหนังสือ เป็นแนวคิดที่ทันสมัยมาจนถึงยุคปัจจุบัน มนุษย์เราควรเรียนรู้ที่จะคิดถึงผลลัพธ์ของทุกการกระทำของตัวเอง และก็ลุกขึ้นมาคิดใหม่ทำใหม่ พวกเราโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และกลุ่มกำลังพัฒนา ที่มีปัจจัยการดำรงชีวิตที่อยู่ใน”สูง”กว่าเกณฑ์ความต้องการพื้นฐาน เราต้องรู้จักคำนึงถึงการบริโภคแต่พอเหมาะพอควร ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอเหมาะพอสม ตัวอย่างเช่น จับจ่ายซื้อของที่จำเป็น ช็อปปิ้งซื้ออาหารที่สามารถทานได้หมดโดยไม่เหลือทิ้ง ใช้ฝักบัวอาบน้ำ ไม่เปิดน้ำไหลทิ้งขณะแปรงฟัน ลดการใช้พลาสติกที่ไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำ ร่วมมือรีไซเคิลวัสดุที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น
ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนเล็กๆของความเป็นไปได้ ถ้าพวกเราหลายคนคิดและก็ช่วยลงมือทำ ช่วยสร้างความแตกต่าง ระบบนิเวศน์โลกก็(อาจ)กลับมาพอสำหรับเรา
#environmentalcare #greentips #bio100
หมายเหตุ โปรดอย่าลืมกดติดตามเรา
FACEBOOK: ไบโอร้อยเฟชบุ๊ก
LINEOA: @BIO100
WEB: www.greentips.net